ประวัติพระอาจารย์หลอ นาถกโร (พระครูอุดมญาณโสภณ)
สถานะเดิม
วัน ๒ ฯ ๖ ค่ำ ปีเถาะ วันที่ ๑๕ เดือน เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๒ วัด คามวาสี อำเภอ สว่างแดนดิน จังหวัด สกลนคร พระอุปัชฌาย์ พระครูพุฒิวราคม วัด คามวาสี ตำบล ตาลเนิ้ง อำเภอ สว่างแดนดิน จังหวัด สกลนคร อุปสมบท หลังจากหวงพ่อพระอาจารย์ใหญ่ ( วัน อุตตโม )ได้มรณภาพลงด้วยอุบัติเหตุเครื่องบินตกที่จังหวัดปทุมธานี และได้จัดงานพระราชทานเพลิงศพเรียบร้อยแล้ว ข้าพเจ้าก็ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสแทนมาโดยตลอด ขอย้อนอดีตไปนิดหนึ่งในช่วงหลวงพ่อใหญ่ยังมีชีวิตอยู่นั้นท่านได้วางโครงการช่วยเหลือชาวบ้าน การก่อสร้างโรงเรียน โรงพยาบาล และอ่างเก็บน้ำหลาย ๆ อ่าง ในเขตพื้นที่อำเภอส่องดาว ตลอดทั้งต่อน้ำประปาให้ทุกโครงการนั้น ข้าพเจ้าได้ดำเนินการต่อจนสำเร็จลุล่วงได้ดีทุกโครงการ คงถือได้ว่าข้าพเจ้าได้ช่วยเจตนารมณ์ของครูบาอาจารย์ให้สำเร้๗ลุงล่วงไปด้วยดีทุกประการ เมื่อได้สร้างสำเร็จแล้วก็ได้มอบให้ทางหมู่บ้านเป็นผู้ดูแลแต่ละโตรงการตะละหมู่บ้าน โครงการเหล่านั้นก็ได้ใช้น้ำมาตลอดจนทุกวันนี้ ส่วนรายละเดียดต่าง ๆ นั้น ได้เขียนไว้ในภาคที่ ๕ แล้ว ต่อจากนั้นมาข้าพเจ้ก็ได้เป็นผู้นำของหมู่คณะรักษาปฏิปทาข้อวัติปฏิบัติของครูบาอาจารย์เอาไว้ให้คงเส้นคงวา ในเมื่อไม่มีอาจารย์แล้วจำเป็นต้องเป็นตัวของตัวเองสิ่งใดเป็นว่าไม่าดีไม่งามจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสยก็พยายามดต่ตัวออกห่าง สิ่งใดเห็นว่าจะเป็นสิ่งที่จะนำมาซึ่งความเจริญในตัวและหมู่คณะก็พยายามทำสั้งนั้นมาเรื่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีเรื่องข้อวัติปฏิบัตินี้เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ ถ้าหมากไม่พิถีพิถันก็อาจละเลยเมินเสียได้ง่าย ๆ พระเจ้า พระสงฆ์ จะอยู่ในพระพุทธศาสนาได้ก็ต้องอาศัยข้อวัติปฏิบัติเป็นพื้นฐานที่เรียกว่าอาสัยธรรมเป็นเครื่องอยู่นั้นเอง คำว่าธรรม มีทั้งภายนอกและภายใน ภายนอกก็คือ ข้อวัติธรรม ที่ทำกันมาเป็นประจำทั้งเข้าเย็น คือตอนเช้าควรทำอะไร ตอนเย็นควรทำอะไร อันนี้เราทำเป็นประจำอยู่แล้ว ส่วนข้อธรรมภายในคือ หว้พระสวดมาตต์ทำจิตใจให้เกิดด สงบตามกำลังความสามารถของแต่ละคน ถ้ามีข้อวัติปฏิบัติเห่านี้ เป็นประจำเรียนกว่า มีสิ่งที่ยึดเหนี่ยวรั้งใจเอาไว้ ไม่คลอนแคลน มีความมั่นคงทางด้านจิตใจ มีอะไรมากระทบก็ไม่อาจเอนเอียงหวั่นไหวไปได้ มีอะไรมากระทบก็ไม่อาจเอนเอียงหวั่นไหวไปได้ เรียกว่ามีธรรมเป็นเครื่องอยู่ จินใจมีความอาลัยอาวรณ์ในเพศพรหมจรรย์ของตนะเอง ไม่เกิดความเหนื่อยหน่ายเฉื่ยชา เมื่อเป็นอย่างนี้ รจึงเรียนกว่าเป็นผู้มีกำลังใจที่มีความเข้มแข็งและมีความอดทน ส่วนทางด้านวัดวาอาราม ที่อยู่ ที่อาศัย สิ่งใดเห็นว่าจะสมควรเพิ่มเติมเสริมต่อก็ช่วยทำไปเรื่อย ๆ ตามแต่ความจำเป็น เป็นต้นว่า กุฎิที่พักสงฆ์ ศาลาการเปรียญ ห้องน้ำ ห้องสุขา ถนนหนทาง ไปมาให้สะดวกสบาย วัดถ้ำพวงถือว่าเป็นวัดที่ใหญ่โตพอสมควร มีเนื้อที่ประมาณ 700 กว่าไร่ ประกอบกับมีสถานที่สำคัญไว้กราบไหว้สักการะบูชาหลายอย่าง โดยเริ่มต้นจากกวงพ่อมงคลมุจลินท์ พิพิธภัณฑ์หลวงพ่อพระอาจารย์วัน อุตตโม และสังเวชนียสถานทั้ง 4 ตำบล เมื่อมีความสำคัญอย่างนี้เกิดขึ้น ผู้คนทั้งหลายก็หลั่งไหลมาทุกทิศทกทางนับวันจะมากขึ้นไปเรื่อย ๆ ทั้งใกล้และไกล โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลปีใหม่ วันสงกรานต์ วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา เป็นต้น มีผู้คนมากราบไหว้มาเป็นพิเศษ ส่วนวันธรรมดา และวันเสาร์ อาทิตย์ก็ยังคงมีมากพอสมควร สิ่งก่อสร้างเหล่านี้ถือเป็นปูชนียสถาน เป็นสถานที่ดึงดูดจิตใจของชาวพุทธทั้งหลาย ให้หันหน้าเข้าวัด ยึดศาสนาเป็นที่พึ่งทางใจ เพราะการเข้าวัดไม่เสียประโยชน์ เป็นการสร้างกำไรในชีวิต ผู้มาเยือนได้กราบไหว้บูชา เป็นขวัญตาขวัญใจ อิ่มอกอิ่มใจ บางคนไปถึงบ้านแล้วก็อยากจะกลับมาอีก ทั้งหมดที่เล่านี้เป็นบ่อเกิดของบุญกุศลจริง ๆ และอีกอย่างสถานที่เหล่านี้ก็อยู่บนภูเขา มีหน้าผาโดยรอบ มีจุดชมทิวทัศน์ที่สวยงาม เป็นที่ตื่นตาตื่นใจของท่าที่มาพบเห็น สังเวชนียสถานทั้ง 4 ก็เป็นสิ่งที่หาดูได้ยาก มีแห่งเดียวเท่านั้นในเมืองไทย แม้สังเวชนียสถานทั้ง 4 จะเล็กกว่าของจริงในจำนวน 2-3 แล้ว เรายังพยายามเน้นความเหมือนจริงอีกด้วย สิ่งใดที่ไม่มีความจำเป็นเราจะไม่เปลี่ยนแปลง เมื่อสร้างเสร็จแล้วชาวพุทธทั้งหลายก็นิยมชมชอบ ข้าพเจ้าเป็นผู้นำในการก่อสร้างก็หายเหนื่อย ทั้งที่ก่อสร้างทั้งแล้งทั้งฝน จำนวน 6 ปีเต็ม ๆ ไม่ขาดวรรคขาดตอน ถือว่าเป็นการก่อสร้างที่ยาวนานพอสมควร แต่ก็ถือว่าคุ้มค่ามาก ๆ จึงขออนุโมทนาทุกท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องใการก่อสร้างสิ่งท้งหลายเหล่านี้ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ลำพังข้าพเจ้าคนเดียวคงไม่สามารถทำให้สำเร็จลงได้ ทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นผลงานชิ้นสำคัญของข้าพเจ้าอีกชิ้นหนึ่ง ใช้งบประมาณในการก่อสร้างเป็นเงินทั้งสิ้น 16,302,204 บาท ด้านการก่อสร้างอาคารเรียนของโรงเรียนอุดมสังวรวิทยา ข้าพเจ้าขอย้อนอดีตที่ผ่านมาประมาณปี พ . ศ . 2539 ได้มองเห็นการเรียนของลูกหลานบ้านหนองแซง บ้านโนนสะอาดและบ้านอาสารักษาดินแดนไม่มีโรงเรียน จำเป็นต้องเดินทางไปเรียนที่โรงเรียนชุมชนส่องดาว ระยะทางเกินกว่า 3 กิโลเมตร นักเรียนได้รับความลำบากในการเดินทางไปเรียน ข้าพเจ้าจึงคิดหาวิธีที่จะก่อตั้งโรงเรียนขึ้น ประกอบกับในตัวอำเภอส่องดาวก็ไม่มีโรงเรียนเป็นของตัวเอง ในที่สุดก็ได้ซื้อที่ดินของนายคำบุญ แก้วขาว จำนวน 20 ไร่ ในราคา 600,000 บาท เป็นเงินงบประมาณจากคณะคุณอาคม ทันนิเทศ 01 กรุงเทพฯ มีนบุรี นอกจากนี้ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก ส . ส . อวยชัย สุขรัตน์ เป็นเงิน 1,120,000 บาท เพื่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราวและใช้ทำการเรียนการสอนมาตั้งแต่ปี พ . ศ . 2539 เป็นต้นมา แต่ด้วยอำนาจแห่งกาลเวลา อาคารชั่วคราวหลังนั้นได้ชำรุดไปมาก ข้าพเจ้าจึงคิดสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ โดยได้รับงบประมาณจากคุณเฉลียว อยู่วิทยา เจ้าของบริษัท กระทิงแดง จำกัด เป็นผู้บริจาคให้ เมื่อได้รับงบประมาณก็ลงมือสร้างไปเรื่อย ๆ โดยใช้แบบแปลนของกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ คือแบบอาคารเรียน 261 ล /41 หลังคาทรงไทย สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง 3 ชั้น ความยาว 81 เมตร กว้าง 10.50 เมตร รวม 18 ห้องเรียน ประกอบด้วยห้องพิเศษคือหนึ่งห้องประชุมใหญ่ หนึ่งห้องพักครู และหนึ่งห้องพยาบาล งบประมาณทั้งสิ้น 15,000,000 บาท โดยใช้เวลาในการก่อสร้าง 12 เดือน เริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่กลางปี 2549 กำหนดเสร็จกลางปี 2550 นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นอาคารเอนกประสงค์ได้อีกด้วย ปัจจุบันโรงเรียนอุดมสังวรวิทยาเปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประมาณ 100 กว่าคน มีครูอาจารย์ 8 คน และนับเป็นผลงานที่สำคัญของข้าพเจ้าอีกชิ้นหนึ่ง นอกจากนี้หากเห็นว่าสิ่งใดสมควรที่จะช่วยเหลือสงเคราะห์อย่างไรก็ได้ช่วยเหลือไปตามกำลังความสามารถ ไม่ว่าจะเป็นวัดวาอารามที่อยู่ใกล้เคียงก็ดี โรงเรียนก็ดี ทางราชการก็ดี ได้ช่วยเหลือเรื่อยมา |
||||